⭐ สมาคมการค้าการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรมเอเชียแปซิฟิก
⭐ ทะเบียนเลขที่​ 0129562000035
⭐ สำนักงานใหญ่ : 98/20 หมู่ที่ 5 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
⛳ ศูนย์ประสานงาน(กลาง): 3196 ม.1 ต.สำโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการ 10270, โทร.+6661-552 9625
062-785-9236 [email protected] 0627859236
หัวข้อ
การชำระเงิน
บุคลากรสำคัญของสมาคม
สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
หน่วยงาน องค์การ นิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ/ได้ทำความร่วมมือ
Facebook
>> โครงการความร่วมมือทางการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ

 

 

 

 

วัตถุที่ประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การติดต่อค้าขายและการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นไปด้วยความสะดวกสบาย รวดเร็ว ประหยัด ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและขนส่ง ลดความขัดแย้งและการกีดกันทางการค้า ลดการขาดแคลนวัตถุดิบขาดแคลนสินค้าและการผูกขาดทางการค้า
  3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการสามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ภายใต้การกำกับ ดูแลของสมาคม
  4. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิก สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและ/หรือบริการกันได้ง่ายขึ้น และสามารถส่งมอบสินค้าและ/หรือบริการดังกล่าวให้แก่ผู้บริโภค ได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัยในราคาที่ต่ำที่สุดและในขณะเดียวกันผู้ผลิตสินค้าและบริการก็จะได้รับค่าตอบแทนต่อหน่วยในอัตราที่สูงที่สุด
  5. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเส้นการการคมนาคมขนส่งทั่วโลกทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางอวกาศ ให้มีความเจริญก้าวหน้าและทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอด
  6. ส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการขนส่งของภูมิภาคและของโลก โดยสนับสนุน ให้มีการเปิดเส้นทางการเดินเรือ(คลองลัด)ผ่านภาคใต้ของประเทศไทย และสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม จากคุณหมิง ลาว เวียดนาม เขมร พม่าตอนบน มาถึงท่าเรือทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย
  7. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรต่อหน่วยพื้นที่ได้มากขึ้นและแปรรูปเพิ่มมูลค่าก่อนนำออกสู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  8. ดำเนินการอื่นๆเพื่อส่งเสริมสนับสนุน ให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง เพื่อให้เกิดความกินดีอยู่ดีมีความสุขของประชาชนโดยส่วนรวม
  9. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

โครงสร้างการบริหารโครงการ

  1. สมาคมการค้าการจัดการโลิสติกส์อุตสาหกรรมเอเชียแปซิฟิก ผู้จัดทำโครงการ เป็นเจ้าของโครงการฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ คอย ควบคุม กำกับ ดูแล ให้การดำเนินงานของโครงการฯบรรลุตามวัตถุประสงค์
  2. สมาคมฯโดยมติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่2/9/63 ประชุมเมื่อ วันที่ 20 เดือน กันยายน พุทธศศักราช 2563 ได้อนุมัติ แต่งตั้ง คณะกรรมการฯขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารโครงการฯ ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของสมาคมฯ โดยให้คณะกรรมการบริหารโครงการฯ มีอำนาจหน้าที่ตามความเหมาะสมในการดำเนินการจัดการกิจงานต่างๆของโครงการฯ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามความประสงค์ของโครงการฯและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ โดยคณะกรรมการบริหารโครงการ เป็นดังนี้ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คนแต่ไม่เกิน 9 คน ดังนี้
    • นายกสมาคมฯ
      นายกสมาคมฯเป็น ประธานกรรมการและผู้อำนวยการ โดยตำแหน่ง
    • เลขาธิการสมาคม
      เลขาธิการสมาคม เป็น เลขาธิการโครงการฯ
    • เหรัญญิกสมาคม
      เหรัญญิกสมาคม เป็น เหรัญญิกโครงการฯ
    • ตัวแทนผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร
      ตัวแทนผู้ประกอบการ เป็น กรรมการโครงการฯ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารการศึกษา
      ตัวแทนผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร เป็น กรรมการโครงการฯ
    • กรรมการอื่น (ไม่เกิน4คน)
  3. การเนินงานของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อประชาชนโดยรวม และปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับสมาคมฯ
  4. การเงินและการบัญชี ให้โครงการฯมีระบบการเงินและระบบบัญชีเป็นของตนเอง และให้มีบัญชีเงินฝากของโครงการฯ
  5. ให้ นายกสมาคมฯในฐานะผู้แทนสมาคมฯและประธานคณะกรรมการบริหารโครงการฯ”คนเดียว”เป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันโครงการฯ
  6. เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมโครงการฯ โดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฯและแสดงความจำนงขอเข้าร่วมโครงการฯ

 

ลักษณะการดำเนินงาน

ใช้ลักษณะการทำงานแนวปฏิบัติการเชิงรุก โดยมีสมาคมฯเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสมาคมเปรียบเสมือนดินแดนอันเป็นกองอำนวยการพิเศษขนาดใหญ่ ที่คอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก กำกับดูแล ให้คำปรึกษาหารือ เจรจาแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง และ ระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอก และช่วยประสานประโยชน์ในด้านต่างๆให้แก่สมาชิก โดยมีคณะกรรมการบริหารโครงการความร่วมมือทางการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นผู้ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการฯ เช่น จัดทำแผนงานในการดำเนินโครงการ กำหนดกรอบในการเจรจาในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมสัมมนาสมาชิกที่ร่วมโครงการฯ จัดทำร่างระเบียบข้อปฏิบัติของสมาชิกเพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมเพื่ออนุมัติ จัดทำระบบการเงินการบัญชีเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานของโครงการฯ ดำเนินการเจรจาจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างสมาชิกเพื่อประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก เป็นต้น

 

หลักสำคัญในการดำเนินงาน คือ ให้ประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงาน องค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและนอกประเทศ สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคมฯ และ ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน ขนส่ง เคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ตลอดจนข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งการขออนุญาต การตรวจสอบ การชำระค่าฤชา ธรรมเนียม การร่วมกันพัฒนากระบวนการในการผลิต กระบวนการในการขนส่งและการพัฒนาเส้นทางการขนส่ง ประเภทต่างๆ ภายใต้ การอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ กำกับ ดูแล และควบคุม โดยสมาคมฯที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของทุกฝ่าย เพื่อให้กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องในการทำการค้าและการขนส่งทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกันและอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ตั้งแต่จุดต้นทางจนกระทั่งถึงจุดผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นทุน ของสินค้าและบริการลดน้อยลงไป ราคาของสินค้าและบริการต่างๆก็จะสะท้อนราคาที่แท้จริงตามกลไกของตลาด และระยะเวลาในการนำส่งสินค้าและบริการต่างๆก็จะลดสั้นลงด้วย ซึ่งลักษณะการจัดการดังกล่าวนี้ ก็เสมือนหนึ่งว่า สมาชิกแต่ละภาคส่วนได้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันคนละไม้คนละมือ เพื่อหยิบยื่นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีที่สุดและอัตราค่าบริการที่ถูกที่สุดให้แก่ประชาชน ซึ่งลักษณะของการดำเนินงานเช่นนี้จะสามารถพัฒนาต่อยอดความร่วมมือกันให้ดียิ่งๆขึ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะยังให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

 

บทส่งท้ายโครงการฯ

 

จากการที่สมาคมการค้าการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรมเอเชียแปซิฟิก(APLITA)ได้จัดตั้งขึ้นด้วยความคาดหวังว่า จะเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวมและเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป



ดังนั้น เพื่อให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ดังกล่าวและให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ สมาคมฯจึงได้จัดทำโครงการฯนี้ขึ้น และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมและสามารถปฏิบัติได้จริง อันจะเป็นหนทางที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการจากหน่วยการผลิตระดับย่อยๆภายในประเทศแล้วค่อยๆแผ่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง



สมาคมฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการความร่วมมือทางการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศนี้จะได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นโครงการฯที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้ตามสมควรต่อไป

 

 

  ขอแสดงความนับถือ



( น.ส.อธิพิชญ์   กิจพรจีราภัคค์ )
นายกสมาคมฯ

 

 

โครงการความร่วมมือทางการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ